“การวิจัยและพัฒนาของโปรแกรมนี้ เน้นการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเพื่อสุขภาพ (แอนไทไซยานินสูง) และมีความมีความหลากหลาย และความแตกต่างของพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นผลผลิต คุณภาพการบริโภค สี เมล็ด ขนาดฝัก จำนวนฝัก และขนาดเมล็ด รวมทั้ง การพัฒนาพันธุ์ให้มีความต้านทานต่อโรคที่สำคัญ (ราน้ำค้าง ราสนิม และใบไหม้แผลใหญ่) และเน้นการพัฒนาสายพันธุ์ชักนำแฮพพลอยด์และเทคโนโลยีดับเบิ้ล แฮพพลอยด์ เพื่อใช้ร่นระยะเวลาในการพัฒนาสายพันธุ์แท้ในข้าวโพด นอกจากนี้ ยังมีการเก็บรวบรวมเชื้อพันธุกรรมของข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดเทียน และข้าวโพดหวาน ซึ่งได้เผยแพร่ให้กับหน่วยงานของเอกชนและภาครัฐเพื่อการใช้ประโยชน์เป็นประจำทุก ๆ ปี” | ![]() |

Explore your crops
ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน สมัครเข้าศึกษาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดไร่/ข้าวเหนียว/หวาน
มันสำปะหลัง
![]() |
“สาขาวิชาพืชไร่มุ่งเน้นศึกษาเรื่องการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อเพิ่ม ศักยภาพการให้ผลผลิตสูง โดยใช้ลักษณะทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ยังมีการคัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังสำหรับปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังให้มีผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูง และประเมินลักษณะการสังเคราะห์ด้วยแสง ประสิทธิภาพการใช้น้ำ การให้ผลผลิต เปอร์เซ็นต์แป้ง และทนแล้ง และยังมีการศึกษาสรีรวิทยาการเคลื่อนย้ายและสะสมแป้ง ในส่วนต่างๆ ของมันสำปะหลัง และใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช (crop growth model) ในการทดสอบลักษณะของสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรม (genetic coefficients)” |
อ้อย
““โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับระบบการผลิตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเน้นการพัฒนาพันธุ์ทีมีเชื้อสายของพันธุ์ป่าเพื่อให้สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีขึ้น ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย อาทิ การใช้ข้าวไร่เป็นพืชนำและปรับปรุงดินในระบบการปลูกอ้อย การจัดการใบอ้อยเพื่อลดการเผาและปรับปรุงดินในระบบการปลูกอ้อย การใช้ถ่านชีวภาพยูคาลิปตัสเพิ่มความยั่งยืนด้านธาตุอาหารพืชในระบบการปลูกข้าวไร่เป็นพืชนำก่อนปลูกอ้อย และการจัดการศัตรูพืช โดยเน้นการใช้สารกำจัดวัชพืชให้เหมาะสมในแง่อัตราและเวลาทำให้สามารถกำจัดวัชพืชได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อการลดปริมาณการใช้สารกำจัดวัชพืช”” | ![]() |
ข้าวพื้นเมือง
![]() |
“สาขาวิชาพืชไร่มุ่งเน้นศึกษาเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง เพื่อตอบสนองต่อการผลิตทั้งในระบบข้าวไร่ และข้าวนาสวน โดยให้มีผลผลิตสูง คุณค่าทางอาหาร เช่น แอนโทไซยานิน มีความต้านทานต่อโรคที่สำคัญ เช่นโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และมีความทนทานต่อความแห้งแล้งที่มีผลกระทบต่อการผลิตข้าว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย การประเมินความสามารถในด้านต่างๆ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก ทั้งยังมีความร่วมมือกับภาครัฐและมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต่อไป” |
หลักสูตรที่เปิดสอนในสาขาวิชาพืชไร่
บุคลากร
วารสารแก่นเกษตร
เป็นวารสารที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่ยอมรับในการใช้เป็นผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Citation Index, TCI)
กลุ่มที่ 1
PROUD OF US
คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะด้านการเกษตรคณะแรกที่ก่อตั้งในภาตะวันออกเฉียงเหนือ ตึกคณะเกษตรศาสตร์สำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. 2510 และได้ใช้เป็นสถานที่ทำพิธีเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานประกอบพิธี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510
หลักสูตร
นักศึกษาปัจจุบัน
สำเร็จการศึกษา
บุคลากร
คณะเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการสอนนักศึกษาในภาควิชาต่างๆ เพื่อผลิตบัณฑิตทางการเกษตรที่มีความรู้ความสามารถในด้านเกษตรทั่วไป และมีความสามารถเฉพาะสาขา และมีหน้าที่ทำการดำเนินงานวิจัยทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อการสอน การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนายกระดับการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Instagram: @agriculturekku #agkku

สมัครรับข่าวสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คุณก็สามารถติดตามความเคลื่อนไหวและเรื่องราวที่น่าสนใจ ด้วยการรับข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทาง Email ของคณะเกษตรศาสตร์
ประชุม/อบรม/สัมมนา
No Content Available