พืชสวน

การพัฒนาพันธุ์พริกเผ็ดเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและยา

Improvement of hot pepper for food and pharmaceutical industries

ลักษณะเด่นของผลงาน

โครงการพัฒนาพันธุ์พริกเผ็ด  ได้ดำเนินโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี  โดยศึกษาวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ  เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์พริกให้มีผลผลิตและคุณภาพสูง ตลอดจนต้านทานโรค แมลงและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร  บริษัทเมล็ดพันธุ์ อุตสาหกรรมอาหารและยา  โดยมีกิจกรรมหลัก  1) พัฒนาพริกพันธุ์ดีและเทคโนโลยีการผลิตพริกที่เหมาะสม  2) พัฒนานักปรับปรุงพันธุ์รุ่นเยาว์ ระดับปริญญาตรี   โท  และเอก โดยผ่านการเรียนและการวิจัย  และ 3) ถ่ายทอดผลงานสู่ผู้ใช้ประโยชน์ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ โดยผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ประชุมวิชาการ การอบรม และจัดนิทรรศการ

การนำไปใช้ประโยชน์/หรือผลกระทบที่ได้รับการถ่ายทอด

  • พริกพันธุ์ดี ที่ให้ผลผลิตสูงและมีความเผ็ดสูงสม่ำเสมอ และได้รับการจดทะเบียนคุ้มครองพืชพันธุ์ใหม่ (Plant variety protection) และได้นำไปใช้ประโยชน์สู่เกษตรกรทั่วประเทศ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ดังนี้

– อุตสาหกรรมยา  บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด  ได้ลงนามขอใช้สิทธิพันธุ์พริก ยอดสนเข็ม 80 ไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเวชภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อย (Capsika gel) ตั้งแต่ ปี 2552  เป็นต้นมา และใน ปี 2555 ได้ลงนามขอใช้สิทธิพันธุ์พริก อัคนีพิโรธ  เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตเวชภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อย (Premium Grade) ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพริกทั้ง 2 พันธุ์ ในหลายจังหวัดของภาคกลาง เหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

– อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ บริษัทเมล็ดพันธุ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนมากกว่า 20 หน่วยงาน ได้ลงนามขอใช้ประโยชน์พริกพันธุ์ดี ไปพัฒนาต่อยอดและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์  รวมทั้งสิ้น 432 พันธุ์/สายพันธุ์

– อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป  ได้นำพริกพันธุ์ห้วยสีทนกัลปพฤกษ์  พริกขี้หนูสวนและพริกขี้หนูหอม  ไปเผยแพร่ให้แก่กลุ่มเกษตรกร อำเภอขามสะแกแสง  จังหวัดนครราชสีมา และ จังหวัดสกลนคร โดยความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  วิทยาเขตสกลนคร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาช่อน  น้ำพริกปลาช่อนชนิดแห้ง  และน้ำจิ้มรสเด็ดเพื่อการค้า  ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรและสนับสนุนให้เผยแพร่เชิงพาณิชย์โดยสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • นักปรับปรุงพันธุ์รุ่นเยาว์ ที่ผ่านการเรียนการสอนและการวิจัย ในระดับปริญญาตรี โท และเอก จำนวน41 คน โดยจบการศึกษาและเข้าทำงานในภาครัฐและเอกชน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา

ภาพที่ 1  บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด นำพริกพันธุ์ปรับปรุงของมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แก้ปวดและค้าขายในเชิงพาณิชย์

 ภาพที่ 2 ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพริก “น้ำพริกปลาชนิดแห้ง” และ “น้ำจิ้มมรกตรสเด็ด”

   

       พริกเพชรมอดินแดง                พริกทับทิมมอดินแดง               พริกขี้หนูหยกขาวมอดินแดง           พริกขี้หนูหยก เขียวมอดินแดง

ภาพที่ 3 พริกพันธุ์ใหม่ที่ยื่นขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่

กระบวนการบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรในการผลิตผักปลอดสารพิษ บ้านดอนหัน ตำบลบ้านฝาง  อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

Farmer Group Management for Chemically Free Vegetable Production   Dan Hun   Village,  Ban Fang Sub-district, Ban Fang District, Khon  Kaen Province

ลักษณะเด่นของผลงาน

ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ได้ทำกระบวนการส่งเสริมการผลิตผักปลอดสารพิษ โดยเริ่มในเกษตรกรบ้านดอนหัน จำนวน 30 คนมา กระบวนการเริ่มจากต้องมีการรวมกลุ่มสมาชิก รวมกลุ่มทำกิจกรรมปลูก มีแปลงปลูกพื้นที่ 2 ไร่ แหล่งน้ำในไร่นา 4 บ่อ มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหาร 6 คน มีการสร้างระเบียบข้อบังคับกลุ่มเองที่ยินยอมพร้อมใจทุกคน เพื่อให้กรรมการใช้บริหาร มีการผลิตน้ำยาป้องกันแมลงจากสารสมุนไพรอินทรีย์ในหมู่บ้านใว้ฉีดพ่น ผลผลิตใช้บริโภคในครัวเรือนส่วนที่เหลือร้อยละ 95 จำหน่ายในตลาดชุมชนของหมู่บ้าน ส่วนอีกร้อยละ 5 จำหน่ายที่ตลาดบ้านฝาง  ก่อนเริ่มโครงการการผลิตผักใช้เครื่องสูบน้ำใช้น้ำมันเบนซินขนาด  3 แรงม้า 1 เครื่อง มีค่าใช้จ่ายน้ำมันสูบน้ำ 1,500 บาทต่อเดือน หลังจากเข้าร่วมโครงการได้ใช้เทคโนโลยีการให้น้ำแบบพ่นฝอย โดยใช้เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าขนาด 3 แรงม้า จ่ายค่าไฟฟ้าสูบน้ำ 150 บาทต่อเดือน จึงเห็นได้ว่า กระบวนการถ่ายทอดการทำงานแบบกลุ่ม ช่วยให้ประหยัดต้นทุน  ใช้น้ำมีประสิทธิภาพ สามารถนำกระบวนการนี้ไปเผยแพร่ต่อไปได้เพื่อสร้างความยั่งยืน งานสร้างกระบวนการส่งเสริมนี้ได้รับรางวัล  Best Poster Award of World Water Week 2008 at Stockholm Sweden Organized by Stockholm International Water Institution (SIWI) อยากได้รูปถ่ายชนะประกวดมาลง

 

การนำไปใช้ประโยชน์/หรือผลกระทบที่ได้รับการถ่ายทอด

กระบวนการส่งเสริมการผลิตผักปลอดสารพิษ

กระบวนการถ่ายทอดกลุ่มได้พัฒนาแปลงสาธิตผักปลอดสารพิษเป็นศูนย์เรียนรู้ จำนวน 1 แห่ง จึงมีเกษตรกรจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาศึกษาดูงาน เฉลี่ยปีละ 4,650 คน นอกจากนี้ ศูนย์เรียนรู้ของกลุ่ม ได้รับเลือกจาก กศน. บ้านฝาง และ โรงเรียนบ้านดอนหัน เป็นแหล่งเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นในชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งศึกษาดูงาน แหล่งข้อมูลการสัมมนา แหล่งข้อมูลรายงาน แหล่งปฏิบัติงานของนักศึกษาหลายคณะ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กลุ่มผักปลอดสารพิษบ้านดอนหันได้ขยายเครือข่าย ไปอีก 7 หมู่บ้าน ในจังหวัด ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ สิ่งที่เกิดการเรียนรู้และนำไปใช้ต่อ ได้แก่ ระบบให้น้ำมาเป็นแบบพ่นฝอย การกลั่นสารสกัดไล่แมลง การผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และการบริหารจัดการกลุ่ม

ระบบน้ำในสภาพแปลงจริง

ระบบถังผสมปุ๋ยน้ำหมักและสารสกัดไล่แมลงที่เชื่อมต่อกับระบบน้ำ

อบรมเกษตรกรจากหมู่บ้านอื่น