โครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ

ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนว่างงานและบัณฑิตจบใหม่ไม่สามารถหางานทำได้ รวมถึงนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  ที่กำกับดูแล มหาวิทยาลัยของรัฐกว่า 80 แห่งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ สามารถที่จะทำหน้าที่เป็น System Integrator ในระดับตำบลได้ โดยที่มหาวิทยาลัยในพื้นที่สามารถใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ ทำงานประสานและร่วมงานกับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้การทำงานบูรณาการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลที่สามารถนำไปสู่การลดความยากจนอย่างมีเป้าหมายชัดเจน (Targeted Poverty Alleviation)

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็น System Integrator
  2. เพื่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา ให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
  3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)
  4. เพื่อให้เกิดการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน

 

ปีงบประมาณที่เริ่มต้นโครงการ 2564
วันที่เริ่มต้นโครงการ 1 มกราคม 2564
วันที่สิ้นสุดโครงการ 31 ธันวาคม 2564

 

ที่มา: https://www.mhesi.go.th/index.php/flagship-project/2690-u2tambon.html

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีพื้นที่รับผิดชอบในโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ทั้งหมด 17 ตำบล ได้แก่

การดำเนินโครงการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ของคณะฯ มุ่งเน้นการส่งเสริม พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ตอบสนองกับปัญหาและความต้องการของเกษตรกร และชุมชน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเกษตรไปสู่ความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรชุมชนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพ้นความยากจน ผ่านกิจกรรมกรรมที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรและบริบทของพื้นที่
กิจกรรมที่ดำเนินการ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่ม ได้ดังนี้