แมลงกินได้กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

แมลงกินได้กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Edible insects for food and feed and Sustainable Development Goals)

ตามที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) ประมาณการว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 ล้านคน ภายในปี พ.ศ.2593 ทำให้ต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้นอีก 70% แต่ทรัพยากรในการผลิตอาหารมีจำกัด ดังนั้น แมลงจึงทางเลือกใหม่ของอาหารสำหรับประชากรในอนาคต แมลงจึงเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของระบบการเกษตรแบบหมุนเวียนที่ยั่งยืน (sustainable circular agriculture) ของการผลิตอาหาร ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หลายประการโดยที่แมลงสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบอาหารมนุษย์และสัตว์ (G2:ขจัดความอดอยาก)มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แมลงอุดมไปด้วยโปรตีน (37–63%) และไขมัน (20–40%) มีกรดอะมิโนและกรดไขมันหลากหลายชนิดและเป็นแหล่งที่ดีของแร่ธาตุและวิตามินที่ประโยชน์ต่อร่างกายแมลงมีปริมาณแลกเนื้อสูง มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วและการผลิตแมลงต้องการพื้นที่ อาหารและน้ำในปริมาณที่น้อย จึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ลดก๊าซเรือนกระจกและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(G12:การบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ G13: การปฏิบัติการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ G14: การใช้ทรัพยากรในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน G15: การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน)แมลงยังใช้ประโยชน์ในการขจัดขยะอินทรีย์แก้ไขปัญหาเรื่องขยะและรักษา สิ่งแวดล้อมและเพิ่มมูลค่าจากสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในตัวแมลง (bioactive substances) ที่สามารถสร้างนวัตกรรมและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สารผสมอาหาร (food ingredient)  อาหารเสริมสุขภาพ (functional food) และอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน (probiotics) และเวชสำอางได้ดังนั้นแมลงจึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน(G1:ขจัดความยากจน G3: สุขภาพและความเป็นอยู่ดีG7:พลังงานสะอาดในราคาที่ซื้อได้ G8:อาชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีG9:อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานG 10: ลดความเหลื่อมล้ำ)

 

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เป็นผู้ริเริมงานวิจัยและนวัตกรรมด้านแมลงกินได้ทั้งเป็นอาหารคนและอาหารสัตว์ และได้สร้างองค์ความรู้และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยดังนี้

แมลงกินได้สำหรับบริโภค

ในปี พศ. 2541 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัศนีย์ แจ่มจรรยา สาขากีฏวิทยาฯ ได้เป็นผู้ริเริ่มและสร้างองค์ความรู้การทำฟาร์มจิ้งหรีด โดยเอาจิ้งหรีดที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาเพาะเลี้ยงในลักษณะฟาร์มและถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้สู่หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนเกษตรกร จากนั้น ศาสตราจารย์ ยุพา หาญบุญทรง ได้มีการพัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านแมลงกินได้ที่เป็นทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ ในด้านอาหารคนโดยเฉพาะ จิ้งหรีด ได้มีงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมได้แก่

  • การพัฒนาสูตรอาหารธรรมชาติที่ถูกลงสำหรับลดต้นทุนการผลิต โดยนำพืชอาหารชนิดต่างๆใน

ท้องถิ่นที่มีราคาถูก เช่น หัวมันสำปะหลัง กากมะพร้าว วัสดุเหลือใช้ เช่น ใบมันสำปะหลัง เป็นต้น ทำให้สามารถช่วยลดต้นทุนให้เหลือประมาณ 30%  และเป็นแนวทางการผลิตจิ้งหรีดอินทรีย์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอีกระดับหนึ่ง

  • การพัฒนาการเพิ่มมูลค่าจิ้งหรีดด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่นอกเหนือจากจาก

ทอดขายทั่วไป เช่น ข้าวเกรียบ น้ำพริก น้ำยาขนมจีน ซอสสปาเก็ตตี้ เส้นบะหมี่ เป็นต้น ซึ่งได้มีการจดอนุสิทธิบัตรของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

  • ผลักดันและเป็นคณะกรรมการในการจัดทำ มาตรฐาน การปฏิบัติการเกษตรที่ดี สำหรับฟาร์ม

จิ้งหรีด(Good Agricultural Practicesfor Cricket farm)  เพื่อให้การผลิตจิ้งหรีดมาความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

 

แมลงกินได้สำหรับเป็นอาหารสัตว์และใช้อุตสาหกรรมอื่น

          แมลงโปรตีน (Black Soldier Fly: Hermetiaillucens Lมีคุณค่าทางโภชนสารสูง ทั้งโปรตีน และไขมันมีสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ (antimicrobial) และโอเมก้า 3, 6 และ 9 ในปริมาณสูง และที่ยอมรับและเหมาะสมในการนำมาทดแทนปลาป่น และกากถั่วเหลือง ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ รวมทั้งใช้เป็นผลิตภัณฑ์สารผสมอาหาร และอาหารเสริมสุขภาพซึ่งงานวิจัยและพัฒนาในเรื่องแมลงโปรตีน ได้แก่

  • วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตแมลงโปรตีน (BSF) แบบครบวงจร ทั้งด้านปัจจัยที่มีผลต่อการ

เจริญเติบโตของแมลง อาหารที่เลี้ยง การรักษาและปรับปรุงพันธุกรรมแมลง เพื่อใช้เป็นต้นแบบสำหรับ

การผลิตแมลงโปรตีนที่มีปริมาณและคุณภาพโภชนสารที่ดีจากเศษเหลือทิ้งอินทรีย์ของภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมตามท้องถิ่นรวมทั้งขยะอินทรีย์จากชุมชน โดยมีการผลิตแบบยั่งยืนและมีเทคโนโลยีต้นทุนต่ำที่มีความเหมาะสมต่อทุกระดับตั้งแต่เกษตรกร ชุมชนและอุตสาหกรรม  ซึ่งการวิจัยสร้างองค์ความรู้ของห่วงโซ่การผลิตแมลงโปรตีน ( BSF production chain)  และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยี 2 ระดับ ได้แก่

1). ระดับเกษตรกรและชุมชนเพื่อลดต้นทุนและพึงพาตนเอง

การผลิตแมลงโปรตีนแบบครบวงจรจากเศษเหลือทิ้งจากการเกษตรและขยะอินทรีย์จากครัวเรือนและชุมชน  เพื่อเป็นต้นแบบให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง ลดภาระค่าใช้จ่ายค่าอาหารเลี้ยงสัตว์โดยใช้แมลงโปรตีนทดแทนและกระตุ้นให้เกิดธุรกิจใหม่จากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของห่วงโซ่การผลิตแมลง  เช่น ผงโปรตีนจากแมลง ไขมันและสารอื่นๆจากแมลง ตลอดจนมูลแมลงเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น

2). การผลิตแมลงโปรตีนในระดับโรงเรือนอุตสาหกรรม

มีต้นแบบและขั้นตอน ที่สามารถปรับเพิ่มขนาดการผลิตโปรตีนที่มีคุณภาพสูงและมีปริมาณมากพอและ

ต่อเนื่องสำหรับในระดับอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์โปรตีนจากแมลงเป็นแหล่งวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์เศรษฐกิจ และผลิตสารเสริมภูมิคุ้มกันต่อสุขภาพสัตว์ เป็นต้นและรวมถึงต้นแบบในการใช้แมลงเพื่อขจัด bio waste ของภาคอุตสาหกรรมลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

  • วิจัยและการพัฒนานวัตกรรมการผลิตเปปไทด์ต้านจุลินทรีย์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรคไก่จากหนอน

แมลงโปรตีน

  • ศึกษาวิจัยผลของอาหารต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของแมลงโปรตีนและการใช้หนอนแมลง

โปรตีนเป็นอาหารไก่เนื้อ

นอกจากนี้ในช่วงของสถานการณ์ของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รัฐบาลยังไปอนุมัติงบประมาณให้ทางคณะเกษตรศาสตร์ ในการดำเนินโครงการพัฒนาการผลิตและใช้โปรตีนจากแมลงเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563  เพื่อลดต้นทุนเกษตรกรในการใช้แมลงโปรตีนสำหรับปศุสัตว์และบ่มเพาะสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ (start up)

แมลงเป็นอาหารคน (insects for food)


แมลงเป็นอาหารสัตว์ (insects for feed)