โครงการเพิ่มผลผลิตข้าวและเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ

โครงการเพิ่มผลผลิตข้าวและเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรวัฒน์ สนิทชน ดร.ธิดารัตน์  มอญขาม และ ดร. สมพงศ์ จันทร์แก้ว

การปลูกข้าวของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปัจจุบันเป็นการทำนาหว่านข้าวแห้ง เพื่อเป็นประหยัดแรงงาน ที่มีข้อเสียคือ สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ ต้นข้าวหนาแน่นทำให้มีความยากลำบากในกำจัดวัชพืช จึงต้องใช้สารเคมีในการควบคุมวัชพืช และ แมลงศัตรูข้าว ส่งผลกระทบต่อผู้ปลูกและสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการปนของเมล็ดและเมล็ดพันธุ์อย่างมากทำให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพต่ำการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สามารถทำได้โดยการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพสูง มีการปลูก การจัดการที่ดีและถูกต้อง ซึ่งทางมูลนิธิปิดทองฯ ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บริษัท ข้าว ซี.พี. (ข้าวตราฉัตร) ได้เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาแนะนำความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเพาะปลูก การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การควบคุมคุณภาพข้าวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ การใช้เครื่องจักรกลเกษตร การใช้ปุ๋ยสั่งตัด และการรับซื้อผลผลิต ซึ่งได้จัดประชุมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตรวจประเมินคุณภาพ และตรวจพันธุ์ปนในแปลงข้าวอย่างต่อเนื่องการดำเนินงานของในฤดูกาลเพาะปลูก ปี 2563 บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ คือ มีผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพ ทั้งเพื่อการบริโภค การผลิตเมล็ดพันธุ์ การพัฒนากลุ่มเกษตรกร และการเพิ่มผลผลิตข้าวต่อพื้นที่ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 93 ราย มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวเพื่อการบริโภค รวม 646 ไร่ และ ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรเพื่อขอรับการรับรอง มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตรสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (Good Agricultural Practice: GAP Seed) โดยการบรรยาย และการฝึกปฏิบัติ ในวันที่ 28 สิงหาคม และ 4 กันยายน พ.ศ. 2563 มีเกษตรกรเข้าร่วมทั้งหมด 42 ราย

สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์มีเกษตรกรที่มีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์ จำนวน 9 ราย มีพื้นที่เพาะปลูกข้าว รวม 23 ไร่ ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์และตรวจสอบคุณภาพแล้ว จำนวน รวม 11 ตัน แบ่งออกเป็น พันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 1.9 ตัน พันธุ์ ธัญสิริน 2.6 ตัน และ พันธุ์ กข 6 (ต้นเตี้ย) 5.7 ตัน โครงการได้รับซื้อเมล็ดพันธุ์ ในราคา กิโลกรัมละ 25 บาท มีปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 1.2, 1.2 และ 3.5 ตัน ตามลำดับ คิดเป็นมูลค่า 149,375 บาท นอกจากนี้ ยังได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหลือไปจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางปริมาณรวม 4.9 ตัน คิดเป็นมูลค่า 123,125 บาทรวมเป็นมูลค่าทั้งหมด 272,500 บาทในส่วนการบริหารจัดการ ทางกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้หักรายได้จากการขายผลผลิตเพื่อใช้เป็นกองทุนของกลุ่มในอัตรา กิโลกรัมละ 3 บาท คิดเป็นจำนวนเงินรวม 32,706 บาท เพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานของกลุ่มในอนาคต ซึ่งได้ดำเนินส่งมอบให้กับโครงการปิดทองหลังพระฯ และกลุ่มเกษตรกร เป็นที่เรียบร้อย

ภาพการดำเนินงาน


ภาพที่ 1 การอบรมเตรียมความพร้อมเพื่อขอรับรอง มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตรสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (Good Agricultural Practice: GAP Seed)

ภาพที่ 2 ข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกโดยวิธีปักดำ แปลง นางนิยม อักษรวงศ์ศิลป์

ภาพที่ 3 ข้าวพันธุ์ กข 6 (ต้นเตี้ย) ที่ปลูกโดยวิธีการใช้รถหยอด แปลง นางทองเยื้อน หนองผือ 



ภาพที่
4 ปัญหาวัชพืชขึ้นรบกวนในแปลงข้าว เนื่องจากการขาดน้ำจากฝนทิ้งช่วง (ภาพบน)และแปลงที่สามารถควบคุมวัชพืชได้ (ภาพล่าง)

ภาพที่ 5 การตรวจประเมินแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ และให้คำแนะนำเกษตรกรในการคัดพันธุ์ปน

ภาพที่ 6 แปลงข้าวพันธุ์ กข 6 (ต้นเตี้ย) ที่ผ่านการคัดพันธุ์ปนตามคำแนะนำแล้ว

ภาพที่ 7 แปลงข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิที่ผ่านการคัดพันธุ์ปนตามคำแนะนำแล้ว

ภาพที่ 8 แปลงข้าวพันธุ์ ธัญสิริน ที่ผ่านการคัดพันธุ์ปนตามคำแนะนำแล้ว

 ภาพที่ 9 ขนย้ายเมล็ดพันธุ์ข้าว จาก โครงการปิดทองหลังพระฯ ไปปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์

 ภาพที่ 10 สุ่มตัวอย่างเมล็ดข้าวเพื่อตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์

ภาพที่ 11 การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์โดยเครื่องคัดแยกแบบตะแกรงและแรงลม

ภาพที่ 12 ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้รับการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ และ บรรจุกระสอบใหม่

ภาพที่ 13 พ่อค้าคนกลางมารับซื้อผลผลิตข้าวที่เหลือจากการรับซื้อในโครงการ