News & Events

U2T คณะเกษตรศาสตร์ จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสูตรน้ำสมุนไพรฝางเข้มข้นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากฐานทรัพยากรท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าของสินค้าชุมชน ” ที่มีเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าของสินค้าชุมชน ” ณ อาคารปฏิบัติการพืชสวน คณะเกษตร จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล : U2T) ที่รับผิดชอบพื้นที่โดยสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

เมื่อวันที่  28 – 31 สิงหาคม 2564 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสูตรน้ำสมุนไพรฝางเข้มข้นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากฐานทรัพยากรท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าของสินค้าชุมชน ” ณ อาคารปฏิบัติการพืชสวน พืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ ตำบลโคกงาม อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น โดยมี อาจารย์ ดร. ศุภณัฎฐ์ กาญจนวัฒนางวศ์ อาจารย์สาขาวิชาพืชสวนและผู้ประสานงานตำบลโคกงาม ดร.นัฐวงค์ เฟื่องไพบูลย์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยี พร้อมคณะทำงาน ดำเนินการจัดการฝึกอบรม การทำน้ำฝางเข้มข้น เพื่อเป็นส่วนผสมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำฝางเป็นน้ำสมุนไพรไทยที่หาดื่มได้ยากได้ ผลิตจากการต้มแก่นฝางที่มีสีแดงส้ม มีสรรพคุณบำรุงเลือด แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับเสมหะ ลดการไอ เจ็บคอ แก้หวัด แก้อาการท้องเสีย รักษาความดันสูง วัณโรค หืดหอบ แก้ปวดหลังปวดเอว ซึ่งเป็นการส่งเสริม สร้าง และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากฐานทรัพยากรท้องถิ่นให้กับชุมชน

 

โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการฯ ”ซึ่งเป็นจัดอยู่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากฐานทรัพยากรท้องถิ่นให้กับชุมชน ตามวัตถุประสงค์ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ กิจกรรมนี้เกิดขึ้นจากทางอาจารย์ ดร. ศุภณัฎฐ์ กาญจนวัฒนางวศ์ อาจารย์สาขาวิชาพืชสวน ผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพืชเอกลักษณ์ท้องถิ่นและสมุนไพรได้เล็งว่าพื้นที่ตำบลโคกงาม อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น มีพืชชนิดหนึ่งซึ่งเป็นพืชเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่ชาวบ้านหรือบุคคลทั่วไปเรียนว่า “ฝาง” พบเห็นได้ยากและยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน มีคุณประโยชน์มากมายทั้งเป็นพืชสมุนไพรใช้ในการต้มดื่มและมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้ เช่นอุตสาหกรรมท่อผ้าท้องถิ่นก็สามารถนำฝางมาใช้ในการย้อมสีผ้าได้และเป็นส่วนผสมของผลิตพันธ์อื่นๆด้วย แต่ในปัจจุบัน ฝาง มีปริมาณค่อนข้างน้อย เนื่องจากผู้คนไม่ค่อยได้ตระหนักถึงการปลูกหรือฟื้นฟูพืชชนิดนี้ จึงทำให้ในพื้นที่ตำบลโคกงาม มีปริมาณต้นฝาง ที่น้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการในการใช้ของผู้ในด้านต่างๆ อีกทั้งยังไม่มีกิจกรรมหรือโครงการของท้องถิ่นในการปลูก ดูแล อนุรักษ์ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าดังนั้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 คณะทำงานจึงได้นำเสนอกิจกรรมของโครงการพัฒนาสูตรน้ำสมุนไพรฝางเข็มข้นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากฐานทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ทุกท่านให้ความสนใจเป็นอย่างมากและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทางคณะทำงานทีมงานผู้รับผิดชอบในพื้นที่ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่านที่ให้ความสนใจและตระหนักถึงแนวทางการสร้างมูลค่าและรายได้จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและพืชเอกลักษณ์ในท้องถิ่น เพื่อการมีอยู่มีใช้ในอนาคตอย่างยั่งยืนซึ่งสอดรับกับเป้าหมายของโครงการ U2T นี้

รายงานโดย คณะทำงาน U2T