วิสัยทัศน์
คณะเกษตรศาสตร์ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตร และเป็นที่พึ่งของอีสานและสังคม (เป้าหมาย: เป็นคณะเกษตรศาสตร์ชั้นนำ 1 ใน 3 ของประเทศ ภายในปี 2567)
พันธกิจ
1) การจัดการศึกษามุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการเกษตร
2) การวิจัยที่ผลิตองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของประเทศ
3) การบริการวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรให้กับชุมชนและสังคม รวมทั้งการจัดการศึกษาทุกช่วงวัย
4) การบริการหน่วยธุรกิจเกษตรเพื่อบริการผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค รวมทั้งให้การบริการให้กับภาคการเกษตร
ค่านิยม :
SMART-AG
S=Social Devotion อุทิศเพื่อชุมชน
M=Management By Fact จัดการบนฐานข้อมูลจริง
A=Adaptability & Global Perspective วิ่งสู่สากล
R=Respect & Openness บนความเปิดกว้าง
T=Technology & Innovation สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม
A=Agility ปรับเปลี่ยนว่องไว
G=Goal Driven With Grit And Growth Mindset ก้าวไปสู่เป้าหมายด้วยใจมุ่งมั่น
ประวัติคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อาชีพเกษตรกรรม ผูกพันและใกล้ชิดกับวิถีชีวิตคนไทยมาเนิ่นนานความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจในเวลาต่อมา ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตเกษตรกร อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นสัญญาณบอกเหตุ ุที่ทำให้การเกษตรแบบดั้งเดิมต้องเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันที่แน่นอนของอนาคต เมื่อทรัพยากรน้อยลง ประชากรที่มากขึ้น ผืนดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ ์เริ่มกลับให้ผลผลิตที่ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ธรรมชาติกับภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดไม่เพียงพอ ที่จะพลิกฟื้น ความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งเช่นในอดีตกลับมาได้อีกต่อไป เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องชี้นำสังคมเกษตรกรรมของภูมิภาคให้มีทิศทาง และเป้าหมายที่ชัดเจนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในภูมิภาค จึงถือกำเนิดขึ้นด้วยกระแสความต้องการ อย่างยิ่งยวดท่ามกลางภารกิจที่ท้าทาย พ.ศ. 2505 เมื่อคณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งรัฐบาลมอบหมายให้เป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาภูมิภาค มีมติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้น และได้เลือกคณะวิชาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งศึกษาจากโครงสร้างความต้องการในการพัฒนา ได้แก่ คณะเกษตรศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นั่นคือจุดเริ่มต้นของคณะเกษตรศาสตร์ และ 2 ปีถัดมา เจตนารมย์ของการวางรากฐานการศึกษาและขยายโอกาสแก่ที่ห่างไกลเกิดเป็นรูปธรรม เมื่อนักศึกษารุ่นแรกของคณะเกษตรศาสตร์จำนวน 49 คน เข้ามาศึกษา จวบจน พ.ศ. 2510 วันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของสถาบันแห่งนี้ และยังเป็นภาพที่ผู้คนจำนวนมากได้รำลึงถึง เมื่อพสกนิกรชาวอีสานได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีขององค์เหนือหัวชาวไทยครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จ ในฐานะของคณะวิชาที่มากกว่าการเป็นเพียงแหล่งวิชาความรู้ของผู้เข้ามาศึกษาเท่านั้น ยังได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งวิชาการของสังคมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม แก้ไขปัญหาทางการเกษตร พร้อมกับการแสวงหาความรู้เทคนิค วิธีสู่การพัฒนาอาชีพและสังคม ให้เจริญก้าวหน้า จากความรู้ความสามารถของบุคลากรซึ่งมีทั้งอาจารย์และข้าราชการ ผู้คอยสนับสนุนการทำงาน ที่ประสานสอดคล้องกันอย่าง เป็นระบบปัจจุบันเรามีอาจารย์กว่า 113 คน ข้าราชการกว่า 78 คน และเปิดทำการสอนแก่นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่จำนวนมากกว่า 2,186 คน ในระดับปริญญาตรี 10 สาขาวิชา สูงกว่าปริญญาตรีทั้งปริญญาโท 16 สาขาวิชา และปริญญาเอก 9 สาขาวิชาสามารถผลิตบัณฑิตสู่สังคมทั้งในภูมิภาค และที่อื่นๆ ในฐานะของคณะวิชา ที่มากกว่าการ เป็นเพียงแหล่งวิชาความรู้ของผู้เข้ามาศึกษาเท่านั้น ยังได้ทำหน้าที่เป็น แหล่งวิชาการของสังคมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา ทางการเกษตร พร้อมกับการแสวงหาความรู้ เทคนิควิธี สู่การพัฒนาอาชีพและสังคมให้เจริญก้าวหน้า จากความรู้ความสามารถของบุคลากร ซึ่งมีทั้งอาจารย์และข้าราชการ ผู้คอยสนับสนุนการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันอย่าง เป็นระบบปัจจุบันเรามีอาจารย์ ์กว่า 113 คน ข้าราชการกว่า 78 คน และเปิดทำการสอนแก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่จำนวนมากกว่า 2,186 คน ในระดับปริญญาตรี 10 สาขาวิชา สูงกว่าปริญญาตรีทั้งปริญญาโท 16 สาขาวิชา และ ปริญญาเอก 9 สาขาวิชาสามารถผลิตบัณฑิต เพื่อให้การแบ่งภาระงานทางวิชาการมีความชัดเจนยิ่งขึ้น จึงแบ่งสายงานออกเป็น 1. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร เป็นการรวม 5 สาขาวิชา เข้าด้วยกัน คือ สาขาวิชากีฏวิทยา เพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัยแสวงหาความรู้ที่เกี่ยวกับสัตว์ประเภท แมลง สาขาวิชาโรคพืชวิทยา หาความเกี่ยวพันกับระบบเกษตรกรรม ทั้งด้านศัตรูพืช การนำมาใช้ประโยชน์ การจัดการ การอนุรักษ์ การประยุกต์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ ค้นคว้าหาสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค ที่ทำลายผลผลิตทางการเกษตร และหนทางการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ สาขาวิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงาน ที่มีบทบาทในการวิเคราะห์สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ เพื่อใช้ในการทำการเกษตร เรียนรู้นำ นอกจากนี้แล้วยังมีการจัดให้มีตลาดนัดสินค้าเกษตรทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อเป็นสถานที่ให้ผู้ผลิตพบกับผู้บริโภคโดยตรง และยังจัดให้มีงานวันเกษตรภาคอีสานเป็นประจำทุกปี เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนโดยให้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น นิทรรศการวิชาการ การเสวนาวิชาการเกษตร การสัมมนาทางวิชาการ และการออกร้านของภาครัฐและเอกชน ซึ่งงานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จะเป็นอีกบทบาทที่คณะเกษตรศาสตร์ยังคงสืบสายภาระกิจด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเน้นการส่งเสริมวัฒนธรรรม อันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น การจัดงานมหกรรมอาหารอีสาน ในงานเกษตรภาคอีสาน การประกวดเครื่องจักรสาน และงานหัตถกรรมต่างๆ ในทุกภาระกิจคณะเกษตรศาสตร์ จะแสวงหาความร่วมมือจากทุกแหล่งที่พร้อมจะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา ขีดความสามารถ ก่อให้เกิดโครงการความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ ทุนวิจัยที่มาจากทั้งในและต่างประเทศ วิสัยทัศน์ของการบริหารจัดการที่โดดเด่นเพื่อการพึ่งพาตนเอง และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวนโยบายแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการโครงงานและองค์กรในกำกับ ที่ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย |